พุยพุย
มาเคลื่อนไหวกับครูเบียร์และครูพี่อัญชันกันดีกว่าาาา

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอนักทฤษฎีการเคลื่อนไหวทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

กลุ่มที่หนึ่ง ด้านสังคม นักทฤษฎีคือ แบนดูร่า , อิริคสัน
  • ทฤษฎีของอิริคสัน อิริสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฏีขึ้นในแนวคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสําคัญของทางด้านสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอิริสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่าเห็นความสําคัญ ของEgo มากว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยเหตุที่อิริสันเน้นกระบวนการทางสังคมว่าเป็นจุดกระตุ้นหล่อหลอมบุคลิกภาพ เขาจึงได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า เป็นทฤษฏีจิตสังคม                

  • ทฤษฎีของอัลเบิร์ต แบนดูรา อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้             
กลุ่มที่สอง ด้านร่างกาย นักทฤษฎีคือ ฟรอยด์ , กีเซล 
  • ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของอาร์โนลด์ กีเซลล์ กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำหรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการจัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและกล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวประกอบกัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งานของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆของร่างกาย




  • ทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางด้านร่างกายของฟรอยด์ ฟรอยด์ เชื่อว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มีแรงจูงใจมาจากจิตไร้สำนึก ซึ่งมักจะผลักดันออกมาในรูปความฝัน การพูดพลั้งปาก หรืออาการผิดปกติทางด้านจิตใจในด้านต่างๆ เช่น โรคจิต โรคประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับ แรงขับทางสัญชาตญาณ(Instinctual drive) และแรงขับดังกล่าวเป็นพลังงานที่สามารถเปลี่ยนแปลง และเคลื่อนที่ได้ จิตจึงเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลง และไม่หยุดนิ่ง


กลุ่มที่สาม ด้านสติปัญญา นักทฤษฎี คือ เพียเจต์ , บรูเนอร์

  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
    เพียเจต์ (Piaget. 1964) อธิบายว่าพัฒนาการทางสติปัญญาของคนมีลักษณะเดียวกันในช่วงอายุเท่ากันและแตกต่างกันในช่วงอายุต่างกัน พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมโดยบุคคลพยายามปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุลด้วยการใช้กระบวนการดูดซึมและกระบวนการปรับให้เหมาะสมจนทำให้เกิดการเรียนรู้โดยเริ่มจากการสัมผัสต่อมาจึงเกิดความคิด
    ทางรูปธรรมและพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนเกิดความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามลำดับ   เพียเจต์ถือว่าการให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆ จะส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยซึ่งอาศัยการรับรู้เป็นสื่อในการกระตุ้นทางความคิดของเด็ก จำเป็นต้องให้เด็กได้มีโอกาสเคลื่อนไหวและสัมผัสสิ่งต่างๆ ทฤษฎีนี้เป็นประโยชน์ในการจัดเนื้อหากิจกรรมทางการเคลื่อนไหว โดยให้เด็กได้สัมผัสกับวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเด็กซึ่งจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งใหม่


  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้  1.) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 2.) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 3.) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 4.) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้   5.) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ 1.)ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ 2.)ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้   3.)ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้  6.) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  7.) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning) 

กลุ่มที่สี่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ นักทฤษฎีคือ กิลฟอร์ด , ทอร์แรนซ์ , Divito

  • อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. Paul Torrance) นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้น Torrance  เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังท่านหนึ่งทางด้านความคิดสร้างสรรค์ ได้สร้างทฤษฎีและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก เขากล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงออกตลอดกระบวนการของความรู้สึกหรือการเห็นปัญหาการรวบรวมความคิดเพื่อตั้งเป็นข้อสมมติฐาน การทดสอบ และดัดแปลงสมมติฐานตลอดจนวิธการเผยแพร่ผลสรุปที่ได้ความคิดสร้างสรรค์ จึงเปนกระบวนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง และทอร์แรนซ์เรียกกระบวนการลักษณะนี้ว่ากระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคค์หรือ  “The creative problem solving process”


วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
วันนี้ในช่วงแรกอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ " เสียตัว เสียใจ " เพื่อเป็นข้อคิดให้กับนักศึกษาได้สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต และให้ตระหนักถึงคำว่าความรัก


ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาออกมาทำท่าทางการเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ 1 ท่า พร้อมทั้งให้เพื่อนๆ ทำตามท่าของตนเอง 



อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม 4-5 คน คิดท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ กลุ่มละ 10 ท่า ห้ามซ้ำกัน พร้อมทั้งออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

  • กลุ่มที่หนึ่ง



  • กลุ่มที่สอง  กลุ่มดิฉันเองค่ะ



  • กลุ่มที่สาม







  • กลุ่มที่สี่



และกิจกรรมสุดท้ายของการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมาทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ คนละ 3 ท่า พร้อมทั้งเป็นการฝึกให้นักศึกษาทุกคนสบตากับเพื่อนๆ ในห้องเรียน ขณะที่สอนการทำท่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่










การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • นำความรู้หรือวิธีการเคลื่อนไหวแบบพื้นฐาน ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เช่น การวิ่งอยู่กับที่ การเดิน หรือการเคลื่อนไหว โดยมีจังหวะ การเคาะให้เกิดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้อง
  • เมื่อมีความรู้เรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว ก็ทำให้สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง มีความเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นว่าเด็กมีความต้องการอย่างไร ครูก็สามารถส่งเสริมหรือแก้ไขพัฒนาการของเด็กได้

การประเมิน
ประเมินตนเอง >>> ตั้งใจเรียนและสนุกกับการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน >>>เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทำให้มีเสียงหัวเราะ เกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้น
ประเมินอาจารย์ >>> อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์มีแนวการสอนที่น่าสนใจ มีมุขมีเรื่องเล่ามาตลอดทำให้ไม่น่าเบื่อ สนุกสนานมากค่ะ


















การบันทึกครั้งที่ 3



วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559
*****ดิฉันไปได้มาเรียนเนื่องจากยังช่วยงานศพปู่อยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นวันเก็บอัฐิค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ.2559
((((งดการเรียนการสอน))))


วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2



วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ.2559
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ.2559


ในวันนี้เรียนทฤษฎีของวิชาการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

  •  ความหมายและความสำคัญของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะอย่างอิสระ
สัญญาณหรือสัญลักษณ์ ที่ใช้กำหนดความช้าความเร็วของการเคลื่อนไหวมีดังนี้

  1.  เสียงจากคน เช่น การนับ การออกเสียงคำ
  2. เสียงจากเครื่องดนตรี เช่น การเคาะ การตี
  3. การตบมือหรือดีดนิ้ว


  • ความเป็นมาของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

     มนุษย์มีความเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นจังหวะตามธรรมชาติ หรือการประกอบกิจวัตรประจำวันของมนุษย์เรามีปฏิกิริยาตอบสนอง


  •  ความสำคัญของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

     มีความสำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการต่อสู้ ดิ้นรนควบคู่ไปกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัย


เมื่อพิจารณาจากความพร้อมและความสนใจของเด็กปฐมวัย จึงควรจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กในขอบข่ายต่อไปนี้

  1.  การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
  2. การเคลื่อนไหวเล่นเลียนแบบ
  3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
  4. การเล่นเกมประกอบเพลง
  5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
  6.  การเล่นเป็นเรื่องราวหรือนิยาย



  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท


  1.  การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
  2. การเคลื่อนไหวที่เคลื่อนที่

  • องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1.  การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. บริเวณและเนื้อที่
  3.  ระดับของการเคลื่อนไหว
  4.  ทิศทางของการเคลื่อนไหว
  5. การฝึกจังหวะ


  • หลักการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1. กิจกรรมตามธรรมชาติ
  2. ชีวิตรอบตัวเด็ก
  3. ชีวิตสัตว์ต่างๆ
  4. ความรู้สึก
  5. เสียงต่างๆ
 
  • เนื้อหาการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1. การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  2. การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะและดนตรี
  3. การฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  4. การฝึกความจำ
  5. การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
  6. การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
  7. การฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  • จุดประสงค์การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ

  1. เพื่อให้เด็กได้ออกกำลังกาย
  2. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย
  3. เพื่อฝึกการฟังและปฏิบัติตามคำสั่ง
  4. เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตาม
  5. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

  • บทบาทครูในการจัดกิจกรรม

  1. สนับสนุนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  2. ครูควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ ความกล้า
  3. ไม่ควรชี้แนะเด็กในเรื่องความคิดมากเกินไป
  • แนวทางการประเมิน

  1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
  2. สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่ ไม่ซ้ำกัน
  3. สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง
  4. สังเกตการแสดงออก
  5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม




วันพฤหัสบดีที่ 21มกราคม พ.ศ.2559
****ดิฉันต้องหยุดเรียนกระทันหันเพราะต้องไปงานศพปู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ดค่ะ จึงฝากเพื่อนลาครูให้




การประเมิน
ประเมินตนเอง >>> ขาดเรียนไปวันที่ต้องทำกิจกรรมเคลื่อนไหวรู้สึกเสียดายมากค่ะ 
ประเมินเพื่อน >>>เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจ ในการทำกิจกรรมทุกๆกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ >>> อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อยทุกครั้งที่สอนค่ะ